วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

IPv4 และ IPv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว


DLNAคือ





สวัสดีครับพี่ๆ น้องๆ ชาว Droidsans ทุกคน วันนี้ผมจะมารีวิวกันแบบถึงพริกถึงขิงกันไปเลยกับเทคโนโลยี DLNA หรือ Digital Living Network Alliance นั่นเอง
มาทำความรู้จักกับ DLNA กันสักนิดก่อนนะครับว่ามันคืออะไร เจ้า DLNA หรือ  Digital Living Network Alliance ถ้าแปลตามตัวแล้วมันหมายความว่า พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย งงมั๊ยหล่ะ งงหล่ะสิ ผมก็งง
ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ DLNA ก็คือ เทคโนโลยีที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและทำงานร่วมกันได้โดยสร้างเป็นเครือข่ายย่อมๆ ขึ้นมาภายในบ้านเพื่อใช้แชร์ไฟล์หรือดึงไฟล์มาใช้งานภายในเครือข่ายย่อมๆ นั้นนั่นเอง เช่นการแชร์ไฟล์จากโทรศัพท์ไปแสดงบนทีวี หรือทีวีทำการรีโมทแล้วดึงไฟล์มาจากโทรศัพท์มาแสดงบนตัวเอง เป็นต้น
อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี DLNA นั้นจะทำงานอยู่ 2 สถานะหลักๆ ที่ใช้เป็นประจำคือเป็น ผู้แชร์ไฟล์ให้คนอื่น(DMS) หรือเป็นผู้เล่นไฟล์จากเครื่องอื่น(DMP) แต่ที่น่าสนใจคืออุปกรณ์นั้นสามารถที่จะอยู่ใน 2 สถานะนี้ได้ในเวลาเดียวกัน คือทั้งแชร์ให้คนอื่นและดึงคนอื่นมาเล่นได้ในเวลาเดียวกันว่างั้นเถอะ 
แต่สุดท้ายแล้วตามทฤษฎีที่เค้าว่าไว้ จริงๆ แล้วเจ้า DLNA เนี่ยมันมีอยู่ 4 โหมดหลักๆ ก็คือ
Digital media servers (DMS) - ทำตัวเองเป็น Server ที่แชร์ให้ชาวบ้านมาดึงไฟล์ไป
Digital media players (DMP) - ทำตัวเองเป็น Player ที่ไปดึงไฟล์ชาวบ้านเค้ามา
Digital media controllers (DMC) - ทำตัวเองเป็นนายคน ดึงไฟล์จากเครื่องนึง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องนึง
Digital media renderers (DMR) - ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น (โหมดที่ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ, เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
DLNA ไม่ใช่มีเฉพาะใน Smartphone ของ Samsung และใช้ได้เฉพาะ Smasung เท่านั้นนะครับ HTC LG Sony ก็สามารถใช้ความสามารถนี้ได้เช่นกันเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ผลิตเหล่านั้นก็มีเทคโนโลยี DLNA รวมอยู่ด้วยเช่นกัน แต่อาจจะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป หรือถ้าเป็น Android ก็สามารถใช้งานผ่านโปรแกรม iMediaShare หรือ skifta แทนก็ได้ครับ (ขอบคุณข้อมูลจากคุณ e-a-k และคุณ wanball ครับ)
ตัวอย่างเช่น มือถือจะส่งไฟล์ไปยังทีวี ให้ทีวีแสดงผล แสดงว่ามือถือเป็น DMS และ TV เป็น DMR หรือ ทีวีทำการดึงไฟล์จากมือถือมาเพื่อเล่นบนทีวีเอง แบบนี้มือถือก็จะกลายเป็น DMS และ TV ก็จะกลายเป็น DMP แทน เป็นต้น
จบกันไปแล้วสำหรับทฤษฎี(ต้องบอกว่าพอกันทีมากกว่า) ต่อไปมาถึง Review จริงๆ สักที ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว DLNA สามารถทำได้ทั้งมือถือกับคอม, มือถือกับทีวี และคอมกับทีวี แต่ครั้งนี้เราจะมาเน้นไปที่ มือถือกับทีวี นะครับ เพราะเราจะเอามาใช้งานคู่กับ Samsung Galaxy SII และคิดว่าคงได้ใช้กับทีวีมากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการ Review ในครั้งนี้มีดังนี้ครับ
1. Samsung LED TV 42" Series 7 (เริ่มตั้งแต่ Sereis 5 แต่ไม่ทุกรุ่นนะครับ ถ้าตั้งแต่ Series 7 ขึ้นไปจะมี DLNA มาด้วยทุกรุ่นครับ)
2. Samsung Galaxy SII GT-i9100
3. Samsung Galaxy SII GT-i9100T
4. Samsung Galaxy S GT-i9000
5. Speaker Creative Gigaworks T40
6. Router TP-Link + RJ45[/P]
ขอขยายความและแจกแจงหน้าที่ของอุปกรณ์เพื่อความเข้าใจตรงกันเวลาอ่าน Review และดู Video นะครับ
- Samsung LED TV 42" Series 7 ตัวนี้ทำหน้าที่เป็น DMP และ DMR ครับ
- Samsung Galaxy Series ทั้งหมดทำหน้าที่เป็น DMS, DMC และ DMP ครับ
ก่อนอื่นใดต้องให้มือถือของเราทำการเชื่อมต่อ WiFi เข้ากับ Router ที่บ้านก่อนนะครับ รวมถึง TV ก็ต้องเสียบสายแลนที่หลังเครื่องด้วยนะ มาถึงขั้นตอนแรกกันเลย ให้เราเข้าไปที่หน้าเมนูของเราก่อน แล้วหาเจ้า All Share ให้เจอ เพราะในมือถือเรา เจ้า All Share นี่แหละครับคือโปรแกรมในการเชื่อมต่อ DLNA ในบ้านเข้ากับมือถือเรา